เลือกปรึกษาคลินิกรักษารองช้ำ รองช้ำโรคใหม่ใกล้ตัวที่สาวออฟฟิศไม่ควรมองข้าม

คลินิกรักษารองช้ำ
February 9, 2024

                หากพูดถึงโรครองช้ำหลายคนอาจทำหน้าเหวอ เอ๊ะ! มันคือโรคอะไรกันนะ แต่ถ้าพูดถึงอาการปวดส้นเท้าแล้วละก็ หลายคนต้องร้องอ๋อกันเลยทีเดียว เราเชื่อแน่ว่ามีใครหลายคนเคยประสบพบเจอกับอาการนี้กันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสาว ๆ ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ หรือเดินไปมาภายในออฟฟิศนาน ๆ ก็อาจจะเป็นโรคนี้กันได้ ทางเดียวที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นก็คงต้องพึ่งคลินิกรักษารองช้ำกันแล้วล่ะ

รู้จักโรครองช้ำก่อนเลือกปรึกษาคลินิกรักษารองช้ำ

                โรครองช้ำอาจไม่ใช่โรคใหม่ แต่มันคือโรคเก่า ๆ อย่างโรคปวดส้นเท้าที่เรามักชอบนึกกันไปเองว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หายเอง หลายคนเมื่อเกิดอาการเดินแล้วเจ็บแปลบบริเวณส้นเท้า ลงน้ำหนักเท้าข้างนั้นไม่ได้ หรือ ลงได้แต่ก็ลำบากมาก นั่นคืออาการของโรครองช้ำแล้ว โรครองช้ำนี้อาจเรียกอีกอย่างว่าโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบอันเนื่องมาจากการใช้งานหนักมากเกินไป โดยเฉพาะบุคคลที่มีลักษณะ 4 ข้อต่อไปนี้ คือ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก บุคคลที่ชอบวิ่งระยะไกล คนที่ต้องยืนทำงานตลอดทั้งวัน และคนที่มีเท้าแบน อุ้งเท้าสูง

                โรคนี้รักษาได้โดยการเข้ารับการปรึกษาและรับการรักษาจากคลินิกรักษารองช้ำ โดยคลินิกเหล่านี้จะมีวิธีการรักษาแบบผสมผสานกับศาสตร์กายภาพบำบัด ร่วมกับวิธีการคลายกล้ามเนื้อตรงบริเวณที่มีการอักเสบ โดยมีหลักการรักษาในเบื้องต้น ดังนี้

                1. หากเกิดอาการไม่หนักมาก ให้พักเท้า ลดการเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็ง 20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง ร่วมกับการรับประทานยาแก้อักเสบ

                2. ออกกำลังกายด้วยท่าที่ช่วยยืดเอ็นร้อยหวายอย่างการใช้มือดันผนัง แล้วยืดเท้าข้างที่อักเสบไปข้างหลังให้ตึง จะทำให้ลอดอาการตึงหรือยึดของเส้นเอ็นได้

                3. ถ้าต้องเดินหรือยืนนาน ๆ ให้ใช้แผ่นรองส้นเท้าเป็นตัวช่วยให้ฝ่าเท้านุ่มขึ้น เพื่อลดการอักเสบ

                4. หากอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์ที่คลินิกรักษารองช้ำ โดยอาจได้รับการรักษาด้วยวิธี Shock Wave หรือการรักษาด้วยความถี่ เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดใต้ฝ่าเท้า ซึ่งได้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด

                5. ในบางรายอาจใช้วิธีการผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วนออกไป หรือการฉีดยาลดอาการอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทสเตียรอยด์โดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่กระดูก ส่งผลให้การรักษาทำได้ยากมากขึ้น

                การเจ็บบริเวณส้นเท้าอาจไม่ได้เกิดจากโรครองช้ำเสมอไป ดังนั้นให้เราพิจารณาอาการที่เกิดขึ้นให้ดี หากเกิดอาการไม่มาก เราอาจรักษาหรือบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตนเองได้ แต่หากยังไม่หาย หรือเป็นอาการในระยะยาว เราควรปรึกษา คลินิกรักษารองช้ำ ให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจดูอาการให้ดีกว่าเพื่อความปลอดภัย

Tags: , , ,